เอกสารวัด




*บทสวยด ยะถาฯ
*ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
 อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถามะณิ โชติระโส ยะถา ฯ

*สัพ พีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา
เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน,
จัตตาโร ธัมมาวัฑฒันติ, อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

*บทสวด อะทาสิ เมฯ
อะทาสิ เม อะกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะ เม
 เปตานัง ทักขิณัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง
นะ หิ รุณณัง วา โสโก วา ยา วัญญา ปะริเทวะนา
นะ ตัง เปตานะมัตถายะ เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย
อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา
ทีฆะรัตตัง หิตายยัสสะ ฐานโส อุปะกัปปะติ
 โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา
 พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ ฯ


*บทสวด กรวดน้ำ อิมินา ฯ
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจะริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
พ์รัห์มะมารา จะ อินทา จะตุ- โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทาเยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ


บทสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ (ทั้งหมด 3 คำรบ)
*พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา, อะกุสะลา ธัมมา, อัพ๎ยากะตา ธัมมา ฯ กะตะเม ธัมมา, กุสะลา ฯ ยัส๎มิง สะมะเย, กามาวะจะรัง, กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ, โสมะนัสสะสะหะคะตัง, ญาณะสัมปะยุตตัง, รูปารัมมะณัง วา, สัททารัมมะณัง วา, คันธารัมมะณัง วา, ระสารัมมะณัง วา, โผฏฐัพพารัมมะณัง วา, ธัมมารัมมะณัง วา, ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ตัส๎มิง สะมะเย, ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ, เย วา ปะนะ ตัส๎มิง สะมะเย, อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา, อะรูปิโน ธัมมา, อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ-----------------------
*พระวิภังค์
ปัญจักขันธา, รูปักขันโธ, เวทะนากขันโธ, สัญญากขันโธ, สังขารักขันโธ, วิญญาณักขันโธ ฯ ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ ฯ ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, อัชฌัตตัง วา, พะหิทธา วา, โอฬาริกัง วา, สุขุมัง วา, หีนัง วา, ปะณีตัง วา, ยัง ทูเร วา, สันติเก วา, ตะเทกัชฌัง, อะภิสัญญูหิต๎วา, อะภิสังขิปิต๎วา, อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ ฯ-----------------------
*พระธาตุกถา
สังคะโห อะสังคะโห ฯ สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง ฯ สัมปะโยโค วิปปะโยโค ฯ สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง, วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง, อะสังคะหิตัง ฯ-----------------------
*พระปุคคลปัญญัตติ
ฉะ ปัญญัตติโย, ขันธะปัญญัตติ, อายะตะนะปัญญัตติ, ธาตุปัญญัตติ, สัจจะปัญญัตติ, อินท๎ริยะปัญญัตติ, ปุคคะละปัญญัตติ ฯ กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ ฯ สะมะยะวิมุตโต, อะสะมะยะวิมุตโต, กุปปะธัมโม, อะกุปปะธัมโม, ปะริหานะธัมโม, อะปะริหานะธัมโม, เจตะนาภัพโพ, อะนุรักขะนาภัพโพ, ปุถุชชะโน โคต๎ระภู, ภะยูปะระโต, อะภะยูปะระโต, ภัพพาคะมะโน, อะภัพพาคะมะโน, นิยะโต, อะนิยะโต, ปะฏิปันนะโก, ผะเลฏฐิโต, อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน ฯ-----------------------
*พระกถาวัตถุ
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา ฯ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ฯ นะ เหวัง วัตตัพเพ ฯ อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล, อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร, วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ, ปะระมัตโถ ตะโต, โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ฯ มิจฉา ฯ-----------------------
*พระยมกะ
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, สัพเพ เต กุสะละมูลา ฯ เย วา ปะนะ กุสะละมูลา, สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา ฯ เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ-----------------------
*พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย, อารัมมะณะปัจจะโย อะธิปะติปัจจะโย, อะนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย, สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย, นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย, ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย, อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากะปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินท๎ริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย, สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย, อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย, วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย ฯ---------------------

*ปล. หลังจากสวดจบทุกบท เป็นคำรบ ที่2 แล้วให้พักสักครู่ ....ฉันน้ำฉันท่า จากนั่น สวดคำรบที่ 3 ต่อให้จบ)



4 อย่า
1.  อย่าจับผิดคนอื่น   จงมองคน มองโลกในแง่ดี แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข
2.  อย่าริษยาคนอื่น   เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี " แผ่เมตตา "
3.  อย่าเสียเวลากับความหลัง   อยู่กับปัจจุบันให้เป็น  ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี "สติ" กำกับตลอดเวลา
4.  อย่าฟังเสียงปาปมิตร  ปาปมิตรคือมิตรชั่ว  จงอย่าคบ
5 ต้อง
1.  ต้องมีปัญญา  ปัญญาเป็นสิ่งที่ติตตัวเราไปตลอด ไม่มีใครขโมยจากเราไปได้ 
2.  ต้องกล้าคิดนอกกรอบ  เป็นตัวของตัวเอง อย่าทำอะไรจากความเคยชินเพียงอย่างเดีย
3.  ต้องชอบตั้งคำถาม   ควรจะฝึกตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
4.  ต้องทำให้ดีกว่าเมื่อวาน  ต้องทำชีวิตของตนเองในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้
5.  ต้องฝึกใจให้ตื่นรู้  ทำใจให้ตื่นรู้ ก่อนนอนสำรวจตนเองว่าตนเองทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือไม่
สำหรับรายละเอียดจากพรท่านพุทธทาสมีตามนี้ครับ
            ๑.รู้จักตัวเอง   ๒.เชื่อตัวเอง  ๓.บังคับตัวเอง ๔.พอใจตัวเอง และ ๕.เคารพตัวเอง
            ๑.รู้จักตัวเอง ถ้าจะมีธรรมกันให้ได้  ข้อแรกที่สุดให้เรารู้จักตัวเองเสียก่อนว่าเราเป็นอะไร เรามีความรู้ ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่ามีปัญญา มีสัมมาทิฏฐิ แล้วเราก็รู้แล้วว่าตัวเราเป็นมนุษย์  ก็ต้องทำอย่างมนุษย์ เป็นมนุษย์ให้เต็มตามความหมายของคำว่ามนุษย์
            ๒.ทีนี้ข้อที่สอง เราจะเชื่อตัวเอง คำว่าเชื่อตัวเองนี้มีความหมายกำกวม ถ้ามีความโง่ มันก็เชื่ออย่างผิด ๆ ถ้ามีปัญญาก็เชื่ออย่างถูก ๆ  แต่คำพูดในที่นี้หมายถึงเชื่อในทางที่มันถูก เชื่อสมกับที่เป็นมนุษย์
            คำว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น อธิบายได้หลายความหมาย เชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม เชื่อความที่ต้องรับผลกรรม เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ก็ยังไม่พอที่จะต้องมาอยู่ มารวมอยู่ที่เชื่อตัวเอง เชื่อตัวเอง ถ้าไม่มีความเชื่อตัวเอง แล้วจะเชื่ออื่นๆไปไม่ได้ เราต้องมีความเชื่อตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง ว่าเราเป็นมนุษย์แน่  นี่ใครเชื่อหรือยัง ? ใครเชื่อตัวเองเป็นมนุษย์ แน่หรือยัง ? หรือยังลังเลอยู่ ?เชื่อตัวเองว่าเราเป็นมนุษย์แน่นะ ถ้าเชื่อว่าเราเป็นมนุษย์แน่ เราต้องเชื่อต่อไปว่า เราต้องทำได้อย่างมนุษย์นะ  ถ้าเราทำไม่ได้อย่างมนุษย์ ก็ไม่เป็นมนุษย์ดอก  แล้วก็ไม่มีความหมายเชื่อตัวเองที่ตรงไหนได้ จะไม่เรียกว่าเชื่อตัวเองที่ตรงไหนได้....ถ้าเชื่อตัวเองก็หมายความว่า เชื่อว่า ฉันเป็นมนุษย์แน่ และฉันต้องทำได้อย่างที่มนุษย์ทำได้ อะไร ๆ ที่มนุษย์ทำได้ฉันเชื่อว่าฉันต้องทำได้ ในตัวฉันเดี๋ยวนี้มีความพร้อมที่จะให้ได้
            ในการที่จะเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ ใครมีความเชื่ออย่างนี้บ้างแล้วหรือยัง ?ก็ไปทดสอบตัวเองว่าเป็นมนุษย์ ข้อที่สองเชื่อตัวเองว่าเป็นมนุษย์ และทำได้ตามที่มนุษย์จะต้องทำ อย่ามัวขี้ขลาด อย่ามัวขี้เกียจ อย่ามัวเหลวไหล โลเล ไม่มีความแน่วแน่อยู่อย่างนี้
            ๓.ทีนี้ข้อที่สามทีนี้ ข้อที่สามต้องบังคับตัวเอง เมื่อเชื่อว่าเป็นมนุษย์ และทำได้อย่างมนุษย์ ก็ต้องบังคับให้ทำซิ อย่าอยู่เฉย ๆ ซิ บังคับให้ลงมือทำ เมื่อไม่อยากจะทำ กิเลสมันไม่อยากให้ทำ ความเหลวไหลมันไม่อยากให้ทำ เราต้องบังคับตัวเองให้ทำจนได้
            คำสอนของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ในการบังคับตัวเอง คือบังคับกิเลสนั่นแหละ คือว่าตัวเองในที่นี้ถ้ายังเป็นคนธรรมดา เป็นปุถุชนคนธรรมดา มันก็มีตัวเองเป็นกิเลส ก็ต้องบังคับตัวเอง บังคับเลส ด้วยจิตฝ่ายที่มันเป็นกิเลส จิตฝ่ายที่เป็นโพธิเป็นสติปัญญาจะต้องก่อรูปขึ้นมา บังคับฝ่ายที่มันเป็นกิเลสนี่บังคับตัวเอง เราแบ่งตัวเราเป็น ๒ ภาค หรือ ๒ ส่วน คือ ส่วนต่ำ ส่วนที่จะลงต่ำ นั่นมันส่วนหนึ่ง ส่วนที่จะสูงมันอยู่อีกส่วนหนึ่ง เขาเรียกว่า ฝ่ายต่ำ-ฝ่ายสูง ฝ่ายชั่ว-ฝ่ายดี, ฝ่ายผิด-ฝ่ายถูก, ฝ่ายบุญ-ฝ่ายบาบ, อะไรก็แล้วแต่จะเรียก เรามีอยู่เป็น ๒ ส่วน
            ส่วนที่จะถูก จะดีไปสูงนั่นแหละ จะต้องเกิดขึ้นและบังคับฝ่ายต่ำ หรือว่าจะเอาสติปัญญามาเป็นกลาง ๆ มาช่วยให้ฝ่ายสูง มาบังคับฝ่ายต่ำอย่างนี้เรียกว่าบังคับตัวเอง ก็ต้องเอาจริง เอาจัง ทมะ แปลว่าบังคับตัวเอง พระพุทธเจ้าเป็นสารถีทรงฝึกสัตว์บังคับสัตว์ผู้เป็นเวไนสัตว์ให้เป็นไปตามคลองของ พระธรรม แต่ก็ไม่พ้นจากการที่เราต้องบังคับตัวเรา
            พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฝึกสัตว์ แต่ก็ไม่พ้นที่เราจะต้องฝึกตัวเราเองท่านสอนให้เราฝึกตัวเราเอง บังคับตัวเอง คำว่า ทมะ แปลว่า ฝึก หรือ บังคับ บังคับใคร ?บังคับตนเอง บังคับความรู้สึกฝ่ายต่ำ ด้วยความรู้สึกฝ่ายสูง
            ทีนี้เราก็มีการบังคับตัวเองกันทุก ๆ คน ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ชั่วโมง ทุก ๆ นาที ปราศจากการบังคับตัวเองแล้วมันก็ต้องผิด ต้องมีเรื่องผิด ต้องมีเรื่องพลาดมีเรื่องไปอีกทางหนึ่ง ไม่ไปตามทางที่ควรจะไป จะต้องเหมือนกับว่าเดินตกร่อง ไม่ระวัง ฉะนั้น บังคับ ตัวเอง พอใจในการบังคับตัวเอง อย่าเห็นเป็นเรื่องไม่สนุก              
            ถ้าเป็นคนไม่บังคับตัวเองมันก็สูบบุหรี่บ้าง ไปกินเหล้าบ้าง ไปทำอบายมุขนานา สารพัดอย่าง มันก็ทำไป แล้วมันก็เดือดร้อนเงินเดือนก็ไม่พอใช้ รายได้ก็ไม่พอใช้ เพราะไม่บังคับตัวเองเท่านั้นแหละ พอมีการบังคับตัวเอง เงินเดือนจะพอใช้ขึ้นมาทันที หรือจะปรับปรุงให้มันพอใช้ขึ้นได้ทันที ทุกอย่างก็จะเป็นไปในทางถูก ไม่เหไปในทางผิด
            แม้ว่าจะเจ็บปวด เราก็ต้องชอบ ในการบังคับตัวเองนี้ ต้องเจ็บปวดเป็นธรรมดา เราก็ต้องทน ต้องมีขันติเป็นอุปกรณ์ในการบังคับตัวเอง เช่นอยากจะไปเที่ยวนี่ บังคับไว้ไม่ให้ไปเที่ยว มันก็เจ็บปวดขึ้นมาเพราะการบังคับก็ต้องทน ทนได้เพราะเป็นการบังคับตัวเองได้
            คนที่อยากจะเลิกบุหรี่ หลายคนมาที่นี่จะเลิกบุหรี่ เมื่อไม่มีการบังคับตัวเอง ก็ไม่มีทางจะเลิกได้มันต้องบังคับตัวเอง เมื่อเงี่ยนขึ้นมามันก็ต้องทน ไม่เท่าไรมันจะเปลี่ยนแปลงกลายเป็นว่าไม่เงี่ยน หรือว่าไม่ต้องทน มันก็รอดตัวไป
            นี้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จะอดบุหรี่ จะอดเหล้า จะอดอบายมุข ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านทำการงาน ความชั่วเหล่านี้ต้องบังคับให้ออกไป ถ้าไม่มีการบังคับ มันก็ไม่ออก เราก็ต้องมีการบังคับ โดยยึดถือหลักว่า เราเป็นมนุษย์ เราเชื่อว่าเราเป็นมนุษย์ เราต้องทำได้อย่างมนุษย์ ฉะนั้นเราก็ต้องทำอย่างคนโบราณ เขาพูดว่าเป็นปลาหมอก็ต้องแถกไปจนเกล็ดแห้งคือไม่ยอมถอยหลัง มีการให้ไปข้างหน้าเรื่อย แม้มันจะยากก็ต้องทำ เขาวางระดับไว้ถึงกับว่า เหมือนการบังคับช้างตกน้ำมันก็ไม่ต้องไปยอม ไม่ท้อถอย จิตที่ประกอบด้วยกิเลสนั่นเหมือนกับช้างตกมัน บังคับยาก
            แต่เราก็ไม่ยอมแพ้ ก็บังคับจนได้เรียกว่าบังคับจิตหรือบังคับตนเองได้  ......
            ๔.ทีนี้ มาถึง ข้อที่สี่ หลังจากการบังคับตัวเองแล้ว ก็ต้องพอใจตัวเอง ค่าที่บังคับตัวเองนั่นแหละ ควรจะพอใจตัวเอง บังคับตัวเองได้แล้ว ก็ยิ่งพอใจตัวเองว่าไม่เสียชาติเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะเราไม่ได้เป็นสุนัก เป็นแมวเป็นไก่ เป็นอะไรอย่างนั้น เราเป็นมนุษย์ เราต้องมีสติปัญญาบังคับตัวเอง เราพอใจในความเป็นมนุษย์ เราต้องชอบใจพอใจตัวเอง
            ลองทบทวนดูให้ดี เราพอใจตัวเองหรือยัง ? เดี๋ยวนี้เราพอใจตัวเราหรือยัง ? มีอะไรดีที่น่าพอใจบ้าง ? เราอาจจะรักตัวเรามาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรดี ทั้ง ๆ ที่มันมีอะไรที่น่ารังเกียจแล้วก็ยังพอใจตัวเอง นี้มันเป็นเรื่องของกิเลส กิเลสมันก็พอใจตัวมันเอง มันต้องหลังจากบังคับตัวเอง ชำระสะสางสิ่งสกปรกเศร้าหมอง ออกไปหมดแล้ว จึงจะพอใจตัวเอง
            ดูกันไปทางไหนมันก็ไม่มีข้อตำหนิติเตียน ก็พอใจตัวเองได้ นั่นแหละคือความสุข ความสุขนี้ถ้าเราจะพูดอย่างกำปั้นทุบดิน ก็พูดว่าคือความพอใจ ถ้ายังพอใจไม่ได้ ยังไม่มีความสุข ให้มีเงินตั้งร้อยล้าน พันล้าน ถ้าไม่พอใจ อย่างไรก็ไม่มีความสุขได้ ให้มีวิมานสักร้อยหลัง พันหลัง ถ้ายังไม่พอใจมัน ไม่มีความสุขได้จะมีอะไร ๆ สักเท่าไรก็ตามใจ ถ้าเราไม่พอใจแล้ว ไม่มีความสุขได้ เนื้อตัว ร่างกาย บุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติอะไรก็ตาม ถ้าเราไม่พอใจแล้วมันไม่มีความสุขได้ ฉะนั้น ความสุขตั้งรากฐานอยู่บนความพอใจ ตอนนี้เราทำจนพอใจตนเองได้ความสุขมันก็แสดงออกมาจากความพอใจตัวเองนั่นเอง
                ถ้าไปหาความสุขอย่างอื่นตามกิเลส แล้วก็ผิดหมดแหละ ไปกินเหล้า เล่นการพนัน ไปทำอบายมุข เหล่าอื่น แล้วก็เป็นสุข ๆ ๆ นั้นมันสุขของคนบ้า หรือเป็นสุก ก. สะกด มันเผาให้ร้อนอยู่ตลอดเวลา สุกอย่างนั้นอย่าไปเอามา
            จงเอาความสุขเมื่อพอใจตัวเองได้ ว่าเราเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง ราได้ทำทุกอย่างของความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง เราก็พอใจ ความพอใจ นั้นเป็นความสุขโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปคิดว่าจะเป็นความสุข ตั้งท่าจะเป็นสุข บังคับให้เป็นสุขนี้ไม่ต้อง ไม่ต้อง ขอให้ทำอะไรชนิดที่พอใจตัวเอง ชื่นใจตัวเอง พอใจตัวเอง รักตัวเอง ขึ้นมาแล้วก็เป็นความสุข
            เหมือนกับเรามีเงิน ถ้าเราพอใจในเงินมันก็มีความสุข แต่เดี๋ยวนี้เรามีธรรมะ เราพอใจในความเป็นมนุษย์ของเรา เราก็มีความสุข เป็นความสุขทางธรรมะ เป็นความสุขจริง เป็นความสุขในทางวิญญาณ นี่ความสุขอยู่ที่นี่ จงทำอะไรชนิดที่ทำให้เราพอใจตัวเองได้
                อยากจะสรุปความว่าให้ทำหน้าที่ของตน ๆ ก็แล้วกัน มนุษย์เมื่อได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ก็พอใจตัวเอง แต่ว่าเราไม่เหมือนกันทุกคน เพราะฉะนั้น ก็ต้องทำงานต่างกัน บางคนอาจจะต้องกวาดถนน ก็พอใจเป็นสุขแจวเรือจ้างก็เป็นสุข ล้างท่อสกปรกก็เป็นสุข เพราะเราพอใจว่าเราได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ เราเป็นมนุษย์
                กรรมสร้างเรามา ให้ทำได้แต่เพียงเท่านี้ หรืออย่างนี้ เราก็ทำซิ มันก็เป็นหน้าที่เหมือนกัน เมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์ในโลกนี้ โลกนี้มันมีหน้าที่ตั้งร้อยอย่าง พันอย่าง หมื่นอย่าง แสนอย่างใครทำหน้าที่ไหนสักหน้าที่หนึ่ง ย่อมได้ชื่อว่าทำประโยชน์แก่โลกนี้ ไม่เสียชาติเกิด เราก็พอใจว่า มีส่วนใสการที่ทำให้โลกนี้มีสันติสุข มีสันติภาพ มีความสมบูรณ์แห่งความเป็นโลกนี้
                คนเป็นชาวนาก็พอใจเมื่อได้ทำนา เป็นชาวสวนก็พอใจเมื่อได้ทำสวน เป็นพ่อค้าก็พอใจเมื่อได้เป็นพ่อค้า เป็นนักการเงิน นักการธนาคาร ก็พอใจเมื่อได้เป็น เป็นทนายความก็พอใจเมื่อได้เป็น แต่ต้องถูกต้องตามธรรมะ ไม่ใช่อันธพาลขูดรีด
                ถ้าเป็นอันธพาลพ่อค้าขูดรีด ก็เอากำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ พันเปอร์เซ็นต์ หมื่นเปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นพ่อค้าที่คิดแต่ว่าเราจะเป็นเพียงพ่อค้า ให้ความสะดวกสบายแก่เพื่อนมนุษย์ เอากำไรสัก ๑๐ เปอร์เซ็นต์๒๐ เปอร์เซ็นต์ ก็พอแล้วอย่างนี้ไม่มีคาเดือดร้อน พ่อค้าคนนั้นก็เป็นคนที่ว่าช่วยให้โลกนี้สมบูรณ์
                จะเป็นนักการธนาคาร ก็เหมือนกันแหละ จะช่วยโลกสะดวกและสมบูรณ์ เกี่ยวกับเงินทองทรัพย์สมบัติ ก็ได้บุญ เพราะทำให้โลกนี้สะดวกสบาย แต่ถ้าขูดรีด เอากำไรตั้งร้อยเท่า พันเท่า หมื่นเท่า แสนเท่า ก็เป็นคนขูดรีดทำบาป ไม่ได้บุญ
                จะพูดเลยไปถึงว่า เป็นทนายความ ถ้าเป็นทนายความที่ประกอบไปด้วยธรรมะก็ได้บุญเพราะให้ความถูกต้องยุติธรรมในโลก แก่ผู้ที่หย่อนความสามารถหรืออะไรได้ นี้ก็ได้บุญ แต่ถ้าเป็นทนายความขูดรีดเห็นแก่เงิน หลอกลวง ทั้งสองฝ่าย อย่างนี้เป็นอะไรก็เรียกเอาเองเถอะ ไม่รู้จะพูดว่าอะไร เขาก็เป็นคนบาป เป็นสัตว์นรก เป็นอะไรก็ได้
                ไม่ว่าอาชีพไหน เมื่อทำพอดี ๆ ถูกต้องตามความหมายของอาชีพนั้นแล้วจะได้บุญไปหมดกระทั่งว่าจะเป็นข้าราชการ เมื่อทำหน้าที่ตรงตามความหมายก็ได้บุญด้วยเป็น ครูอาจารย์ ยิ่งได้บุญมาก
                นี่ได้ยินว่ามีครูบาอาจารย์นั่งอยู่ที่นี่หลายคน เป็นนักเรียนจะเป็นครูอาจารย์ก็ยิ่งได้บุญอยู่มาก อยากจะบอกว่าครู่เป็นอาชีพที่ได้บุญ ที่จริงเป็นอาชีพของพระอริยบุคคล เป็นอาชีพของปูชนียบุคคล เพราะว่าครูบาอาจารย์คือ ผู้สร้างโลก
                โลกนี่จะดีเลวอย่างไร ก็แล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์สร้างเด็ก ๆ ขึ้นมาอย่างไร ถ้าครูบาอาจารย์สร้างเด็ก ๆ ขึ้นมาดี ก็มีผู้ใหญ่ดี โลกนี้ก็เต็มไปด้วยคนดี โลกนี้ก็มีความสุข ถ้า ครูบาอาจารย์เลวสร้างเด็ก ๆ ขึ้นมาเลวก็เป็นพลเมืองที่เลว โลกนี้มันก็เลว เราจึงควรจะถือว่าเป็นครูบาอาจารย์คือผู้สร้างโลก จริง ๆ ยิ่งกว่าพระเจ้า ที่เขาละเมอเสียอีก
                นี่มันเห็นอยู่ชัด ๆ ไม่ต้องละเมอ ว่าครูบาอาจารย์เป็นผู้สร้างโลก สร้างเด็ก ๆ ขึ้นมาอย่างไร พลเมืองมันก็เป็นอย่างนั้น พลเมืองเป็นอย่างไร โลกมันก็เป็นอย่างนั้น นี่เป็นเพียงแต่เป็นครูให้ถูกต้องเท่านั้น ก็ได้ บุญ

                นี่โดยถือเป็นหลักว่าใครทำหน้าที่ของตน ๆ อย่างถูกต้องแล้ว คนนั้นได้บุญ นับตั้งแต่คนกวาดถนนขึ้นไป เป็นพระราชามหากษัตริย์ เป็นจักพรรดิ เป็นอะไรก็ตาม ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องแล้วล้วนแต่ได้บุญ เป็นประชาชนคนหนึ่งก็ได้บุญ ที่ทำให้โลกนี้มันสมบูรณ์ขึ้นมา

            เราสรุปความได้ว่า เมื่อได้ทำหน้าที่แล้วก็ได้บุญ แล้วก็ควรจะพอใจ ถ้าไม่พอใจก็โง่เต็มที ไม่มีอะไรควรจะพอใจแล้ว ถ้าไม่พอใจในสิ่งที่ควรพอใจแล้วก็ไม่มีโอกาสจะพอใจ ไม่มีอะไรพอใจ มันก็เป็นโรคประสาทแหละ          
            ถ้าเราแต่ละคนไม่มีอะไรเป็นที่พอใจอยู่ตลอดเวลาก็เป็นบ้า เป็นโรคประสาทแล้วก็เป็นบ้าแล้วก็เป็นโรคจิต แล้วก็ตาย หรือว่าถ้าไม่ถึงนั้น ไม่ถึงขนาดนั้น ก็เป็นโรคกระเพาะเรื้อรังเป็นโรคที่กำลังเป็นกันอยู่ ไม่มีความสงบสุขได้ เพราะมันไม่ชื่นอกชื่นใจตัวเองเสียเลย ไม่เคยนึกถึงความพอใจตัวเอง เป็นข้อที่ ๔ เป็นธรรมข้อที่ ๔ ช่วยให้มีธรรมะข้อที่ ๔
            ที่นี้ข้อสุดท้ายก็คือ ข้อที่ ๕ ก็คือ นับถือตัวเองข้อที่ ๕ นับถือตัวเอง ยกมือไหว้ตัวเองได้ ที่นั่งอยู่ที่นี่ ทุกคนขออภัยจะถามว่า
             ใครมีความดีจนยกมือไหว้ตัวเองได้ ? ลองยกมือไหว้ตัวเองเดี๋ยวนี้ได้ไหม ? ที่นั่งอยู่ที่นี่ทุกคน ใครรู้สึกว่าตัวเองมีความดีอยู่ในตัว พอจะยกมือไหว้ตัวเองได้ ? นี่มันฉากสุดท้ายอยู่ที่นี่ คือนับถือตัวเองได้
            ถ้ามองดูตัวเองแล้วมันรังเกียจกินแหนงตัวเอง ไหว้ไม่ลงอย่างนี้ ยังไม่เป็นมนุษย์ดอก ยังไม่สมบูรณ์ ถ้ายิ่งดูยิ่งสอดส่อง ยิ่งใคร่ครวญย้อนหลังไปก็โอ๊ะ !!! มีแต่ความดียกมือไหว้ตัวเองอัตโนมัติ โดยไม่ต้องนึกต้องคิดนี้ใช้ได้ที่สุด
            เรื่องจบแค่นี้แหละ จบอยู่ที่ยกมือไหว้ตัวเองได้ หลังจากพอใจตัวเอง มีความสุขแล้ว ไม่มีอะไรอีกแล้ว ถึงที่สุดแห่งความเป็นมนุษย์แล้ว ก็ยกมือไหว้ตัวเองได้ ก็เรียกว่าเคารพตัวเอง
            ปีใหม่ที่หนึ่ง ควรจะเฉลิมฉลองชีวิตในทางที่ดีขึ้น มิใช่ทำให้มันต่ำลง ๆ เพราะปีใหม่มีสำหรับดีกว่าปีเก่า พืชมีเหง้าครบปีทวีหัวปีใหม่ใช่มีไว้ให้เมามัวต้องละชั่วทำดีทุกปีไป










No comments:

Post a Comment